ตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากๆ สำหรับนักคิด ที่จะช่วยให้ไอเดียที่ตนเองคิดนั้นกลายเป็นเรื่องจริงได้ นั่นก็คือ การขายไอเดีย หรือการนำเสนอไอเดียให้แก่นักลงทุนที่มีความสนใจต่อไอเดียหรือโปรเจคของเรา แต่แน่นอนว่า การพูดให้คนเข้าใจในไอเดียของเราอย่างถ่องแท้นั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากเราจะต้องเข้าใจในไอเดียที่คิดขึ้นอย่างลึกซึ้งแล้ว ก็ยังต้องใช้วาทศิลป์ในการช่วยให้ไอเดียของคุณนั้นขายได้ด้วย ในบทความนี้ Exsheep จะมาแนะนำ 11 วิธีการขายไอเดียแก่นักลงทุน ว่าจะทำอย่างไรให้การขายไอเดียนั้นผ่านฉลุย เรามาดูกันครับ
- ศึกษาและเข้าใจประเภทธุรกิจที่จะทำ ก่อนเราจะคิดไอเดียสำหรับทำธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่งนั้น เราจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดต่างๆ ของธุรกิจประเภทนั้นให้ครบถ้วน เช่น กลุ่มลูกค้า ธรรมชาติของธุรกิจ เป้าหมาย คู่แข่ง วิธีการดำเนินธุรกิจ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนและเข้าใจ เพื่อให้เราสามารถอธิบายให้ผู้ลงทุนเข้าใจได้เป็นอย่างดี
- เข้าใจไอเดียที่คิดอย่างลึกซึ้ง เมื่อเราคิดไอเดียธุรกิจอะไรสักอย่างขึ้นมานั้น เราจำเป็นต้องเข้าใจรายละเอียดต่างๆ ที่เราคิดขึ้นมาอย่างลึกซึ้ง เพราะแน่นอนว่า การที่เรายังไม่เข้าใจสิ่งที่ตัวเองคิดชึ้นมา ก็จะทำให้เรานั้นไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ดีเท่าที่ควร ดังนั้น คิดค้นอะไรขึ้นมา อย่าลืมที่จะทบทวนและทำความเข้าใจความคิดทั้งหมดเป็นประจำเพื่อให้เราเข้าใจมากขึ้น
- รู้กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ ในการจะคิดไอเดียทำธุรกิจนั้น แน่นอนว่าจะต้องมีเรื่องกฏหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และตัวกฏหมายนี้เองจะเป็นตัว Shape และกำหนดข้อจำกัดให้เราทราบด้วยว่า มีสิ่งใดที่จำเป็นต้องทำบ้าง หรือมีสิ่งใดที่ทำไม่ได้บ้าง เพื่อให้เราสามารถกำหนดกรอบการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด
- ทดสอบไอเดียของตนเอง ก่อนจะไฟนอลไอเดียเพื่อไปขายให้กับนักลงทุนนั้น เราก็ควรจะนำไอเดียที่เราคิดนั้นไปทดสอบใช้งานในสภาวะจริงก่อน เพื่อหาจุดบกพร่อง และแก้ไขปรับปรุงให้ไอเดียของเรามีความ Solid มากขึ้น จนกระทั้งเสร็จสมบูรณ์ และสามารถนำไอเดียไปต่อยอดใช้งานได้ทันที เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายงานผ่านให้มากขึ้น
- ร่างไอเดียฉบับคร่าวๆ สำหรับเตรียมนำเสนอ หลังจากไฟนอลไอเดียกันมาแล้ว ก็อย่าลืมที่จะร่างไอเดียของเราในรูปแบบสั้นๆ เพื่อนำเสนอแก่นักลงทุนให้กระชับ โดยที่ยังมีรายละเอียดครบถ้วน เพื่อให้การนำเสนอไม่ยืดยาวหรือน่าเบื่อจนเกินไป ซึ่งจะช่วยให้เรามีโอกาสในการขายงานผ่านมากขึ้นนั่นเอง
- กำหนดขอบเขตและข้อกำหนดในการทำธุรกิจร่วมกัน ในการวางแผนขายไอเดียให้แก่นักลงทุนนั้น แน่นอนว่านักลงทุนก็จะมีเรื่องของการแชร์ผลประโยชน์ร่วมกัน หรือรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับข้อตกลงหากต้องทำงานร่วมกัน และแน่นอนว่าเราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่านักลงทุนจะมีการตกลงกับเราในรูปแบบใด ดังนั้น เราควรเตรียมและกำหนดขอบเขตในการทำธุรกิจร่วมกันว่า เราสามารถให้นักลงทุนได้เท่าไหร่ สัดส่วนหุ้น กำไร ปันผล และอื่นๆ
- หาสถานที่หรือบุคคลสำหรับแชร์ไอเดีย แน่นอนว่าคนเราหากมีไอเดียแล้ว แต่ไม่มีพื้นที่สำหรับแชร์ไอเดีย ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายเหมือนกัน ดังนั้นเราควรเปิดกว้างให้กับตัวเองในการสรรหาพื้นที่สำหรับโปรโมทไอเดียของตนเอง เช่นที่ Exsheep ที่เราเป็นตัวกลางสำหรับนักลงทุนและนักคิดไอเดียเพื่อให้มาพบเจอกันและสร้างสรรค์ธุรกิจจากไอเดียสุดเจ๋งให้กลายเป็นธุรกิจจริงได้
- เข้าใจธรรมชาติของนักลงทุน ในการขายไอเดีย มีสิ่งหนึ่งที่เราอาจจะต้องยอมรับกันว่า ธรรมชาติของนักลงทุนนั้นเมื่อลงทุนสิ่งใดไป เป้าหมายก็คือต้องการเห็น ROI (Return of Investment) ที่ Turn กลับมาสู่นักลงทุนอย่างคุ้มค่า ดังนั้นในการนำเสนอเราก็อาจจะต้องเตรียมในส่วนของตัวเลขของผลตอบแทนที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้นักลงทุนเห็นภาพ และซื้อไอเดียของเรานั่นเอง
- เตรียมเอกสารประกอบการนำเสนอไอเดีย แน่นอนว่าการนำเสนอด้วยปากเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจจะทำให้นักลงทุนมองไม่เห็นภาพที่ชัดเจน และอาจทำให้การนำเสนอนั้นไม่น่าสนใจ เราอาจจะเพิ่มความน่าสนใจด้วยการทำเอกสารหรือสื่อเพื่อประกอบการนำเสนอ และแจกจ่ายให้แก่นักลงทุนหรือเปิดให้รับชมเพื่อการเพิ่มรายละเอียดที่มากขึ้น
- เตรียมตนเองให้พร้อมสำหรับการนำเสนอ Practice makes perfect คำนี้ใช้ได้ไม่เกินจริงสำหรับทุกสิ่ง เราจึงอยากให้ทุกคนซ้อมการนำเสนอจนคล่องก่อนจะไปขายไอเดียแก่นักลงทุน เพื่อให้ตัวเรามีความพร้อมที่สุดในการนำเสนอ และยังเป็นการทำให้เรารู้จุดบกพร่องในการนำเสนอของตัวเอง และปรับปรุงแก้ไขจนไปสู่การนำเสนอที่ดีที่สุดนั่นเอง
- นำเสนอด้วยข้อมูลอย่างเต็มที่ เมื่อถึงถึงเวลานำเสนอจริง เราก็ควรจัดเต็มรายละเอียดและการนำเสนอให้แก่นักลงทุนอย่างเต็มที่ เพราะเรียกได้ว่าการนำเสนอนั้น เป็นหัวใจหลักและเป็นตัวชี้เลยว่าไอเดียของเราจะถูกซื้อหรือไม่ซื้อ ดังนั้น อยากนำเสนออะไร จัดไปเลยอย่างเต็มที่ เจอคำถามอะไรมา ตอบไปเลยเต็มที่ไม่มีกั๊ก พร้อมให้ข้อมูลประกอบไปอย่างครบถ้วน เพียงเท่านี้ ธุรกิจในฝันของคุณก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว